modelธุรกิจแบบนักปัจจุบันนิยม
หากมัวแต่รั้งรอ กลัวโน้นนี้ เราอาจจะไม่ได้เห็นอะไรที่ดีเข้ามาในชีวิตเลย แต่หากกล้าใช้สายแต่แห่งความจริงมองชีวิต แล้วลงมือสร้างการเปลี่ยนแปลงจากตัวเรา เดี๋ยวนี้ วันนี้เลย รับรองว่า ความสำเร็จของชีวิตไม่ใช่เรื่องยากและไม่ใช่เรื่องใหญ่
ผมเป็นคนหนึ่งที่มักเสพการนำเสนอระดับโลกอย่าง TED Talk บอกตามตรงเลยว่าแนวทางของ TED เป็นแบบอย่างการนำเสนอที่สั้น โดนใจ ได้เนื้อๆ และสร้างแรงบันดาลใจได้อย่างแท้จริง ข้อดีของการเสพTED นอกจากจะได้เนื้อหาแจ๋วๆ ไอเดียเโดนๆ แล้วยังช่วยให้เราได้ฝึกภาาาอังกฤษเพิ่มเติมได้อีกด้วย ถึงแม้ว่าตาจะมองไปที่ซับไทยแต่หูก็ยังจับสำเนียงเพื่อให้คุ้นหูอยู่ได้ ฝึกๆๆๆๆ
ล่าสุดผมได้เข้าไปดูเทปหนึ่งที่น่าสนใจ speaker เป็นคนญี่ปุ่น ซึงเป็นหัวหน้าห้องปฏิบัติการด้านสื่อของมหาวิทยาลัยแมสซาจูเซตต์ (MIT Media Lab) ชื่อ คุณโจอิ อิโตะ พูดได้โดนใจผมมากๆเกี่ยวกับ เรื่อง การเปิดใจกว้างและตื่นตัวกับปัจจุบันขณะ แล้วคุณจะสามารถเปลี่ยนแปลงชีวิตคุณและสังคมไปในทางที่ดีได้ ผมประทับใจหลายๆประโยคที่เขาเล่าครับ เลยอยากจะให้ได้ชมกันก่อน แล้วมาคุยกันต่อ เข้าไปตามลิงค์นี้ครับ
เมื่อได้ฟังจบแล้วตัวผมเองเกิดแรงบันดาลใจหลายๆอย่าง และหนึ่งในแรงบันดาลใจที่แปลออกมาเป็นแผงผังที่เห็นชัดเจน คือ เรื่องของโมเดลธุรกิจที่ผมอย่างจะเรียกว่าเป็นแบบธุรกิจแบบนักปัจจุบันนิยม
และด้วยสิ่งนี้ละทำให้โลกทัศน์ในแง่ธุรกิจผมเปิดโล่งมากขึ้นจากขนบเดิมๆที่เราเรียนมาว่า ธุุรกิจเริ่มจากไอเดีย ไอเดียมาเรื่องการเขียนแผนธุรกิจ แล้วจึงลงมือทำ แต่ในผังข้างบนกลับไม่ได้เรียงลำดับเช่นนั้น เหตุก็เพราะเขาใส่ใจเรื่องของการคิดได้แล้วอย่ามั่วไปยึดติดกับการวางแผนนานๆ วิเคราะห์ หาข้อมูลมามากมาย สิ่งเหล่านี้เปรียบเสมือนกับดักหลุมพลางที่เป็นอุปสรรคที่ทำให้เราไม่ลงมือสักกะทีได้ บางครั้งข้อมูลที่มากเกินไปก็กลายเป็นเรื่องที่ทำให้เรากลัว จนไม่กล้าลงมือทำอะไร
แนวคิดโมเดลธุรกิจแบบนักปัจจุบันนิยม เป็นแนวคิดเปิดใจกว้างให้เรียนรู้และตื่นรู้ถึงความเป็นจริงในปัจจุบัน เมื่อเกิดไอเดียขึ้นแล้ว จงรีบลงมือทำ เพื่อให้เกิดต้นแบบ จับต้อง ใช้ประโยชนได้ ซึ่งจากนั้นคนที่มองเห็นคุณค่าและโอกาสจะวิ่งเข้ามามอบทุนให้เราอย่างเต็มใจ เมื่อถึงเวลานั้น เราจึงมานั่งทบทวนเขียนแผนธุรกิจแบบจริงจังกัน เรื่องแบบนี้ทำให้ผมฉุกคิดถึงวิธีที่ สตี๊ฟ จ๊อบ CEO Apple ปลูกฝังพนักงาน ที่มักเรียกเท่ห์ๆว่า “วัฒนธรรมแฮกเกอร์” ที่เน้นการลงมือทำให้เร็ว ให้รีบผิดพลาดมากที่สุด เราจะได้รีบหาทางออก และผลิตนวตกรรมขึ้นมาได้ “เคลื่อนไปข้างหน้าให้เร็ว ทำข้าวของให้เสียหายมากที่สุด” วิธีคิดแบบนี้หากมองให้ลึกจะพบว่า เป็นวิธีคิดที่ชาญฉลาด และสร้างให้คนกล้าที่จะลงมือทำตามความคิดแบบไม่ลังเลและยอมรับว่าความผิดพลาดไม่ใช่สิ่งที่ยับยั้งไม่ให้เราเดินหน้าต่อ แต่ความผิดพลาด คือ สิ่งที่เราต้องเรียนรู้เพื่อก้าวไปสู่ความสำเร็จให้ได้
เรื่องแนวคิดธุรกิจแบบนักปัจจุบันแท้ที่จริงๆแล้วกำลังกระตุ้นเตือนให้เราได้ระลึกรู้ทันภาวะปัจจุบันว่าเราคือใคร? เรายืนอยู่ตรงไหน? และเรากำลังจะไปไหน? อย่ามัวแต่ลังเลกับความเลวร้ายในอดีตหรือกังวลกับอนาคตที่ยังมาไม่ถึง หากมีไอเดียเกิดขึ้นแล้ว รีบลงมือทำก่อน แล้วหนทางจะตามมา ยังไงก็นำไปต่อยอดสู่การลงมือทำกันดู ได้ความอย่างไรนำมาแบ่งปันกันนะครับผม
ขอบคุณข้อมูลและแรงบันดาลใจจาก TED Talk และคุณโจอิ อิโตะมากๆครับ